เมนู

ลังกาตามที่ศาสตราจารย์เดอมีวิลล์ยืนยัน แต่ความเห็นของเขาก็ยังสนับสนุนข้อที่ว่า ฉบับ
ภาษาจีนมีมาก่อนกว่าและถูกต้องตามต้นฉบับเดิมมากกว่าฉบับภาษาบาลี ได้เป็นอย่างดี (1)
ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้คัดค้านอย่างรุนแรงว่า "เป็นไปไม่ได้ที่ว่า ฉบับ
ที่สั้นกว่า และเพียงแต่สั้นกว่าอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องเป็นฉบับที่เก่าแก่กว่าฉบับที่ยาวกว่า
แต่ความจริงแล้ว น่าจะเป็นว่า ฉบับที่ยาวกว่านั่นเอง ที่ทำให้เกิดมีฉบับที่สั้นกว่าขึ้นมา(2)
....... ถ้าว่าฉบับที่สั้นกว่า (ซึ่งความจริงเรียกว่า ฉบับถอดใจความน่าจะเหมาะกว่า เพราะใน
ความรู้สึกของคนสมัยปัจจุบันแล้ว ไม่น่าจะเป็นฉบับสมบูรณ์เลย) ที่ได้มาจากเกาหลี เป็นต้น
ฉบับที่แท้จริงแล้วก็มีปัญหาว่า หนังสือจีนอื่น ๆ ที่กล่าวรวม ๆ ว่าได้แต่งขึ้นในสองศตวรรษต่อมา
ซึ่งถือว่าเป็นฉบับต้นเดิมนั้น ด้วยเหตุผลใดเล่า จึงเกิดมีเนื้อหาสาระผิดแผกแตกต่างไปจาก
ฉบับภาษาบาลี ? เชื่อแน่ว่าสมมติฐานที่จะเอามาเป็นเครื่องพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คงจะเป็นว่า หนังสือ
จีน 2 ฉบับซึ่งแปลจากต้นฉบับอันเดียวกันนั้น ฉบับหลัง ย่อมจะต้องถูกต้องแน่นอนกว่า
ฉบับก่อน และในเรื่องนี้ ก็ทำให้เราได้เห็นลักษณะพิเศษอันหนึ่งของจีนว่า ในการถ่ายทอด
คัมภีร์ของอินเดียไปเป็นภาษาจีนนั้น ทางจีนถือว่า ฉบับหลังย่อมถูกต้องกว่าฉบับก่อนเสมอ(3)
มิลินทปัญหานั้น เป็นปกรณ์ที่ได้รับความสนใจศึกษาค้นคว้าจากนักปราชญ์ต่าง ๆ ทั่วไป
ทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ได้มีผู้เขียนบทความวิจารณ์เรื่องของมิลินทปัญหากันอย่างกว้าง
ขวาง มีการค้นคว้าและติดตามเรื่องราวต่าง ๆที่กล่าวไว้ในมิลินทปัญหากันอย่างจริงจัง ดังที่
กล่าวมาข้างต้น และจากผลของการค้นคว้าของบรรดาท่านเหล่านั้นก็ปรากฏว่า สาระส่วนใหญ่
ของมิลินทปัญหานั้น ดำเนินตามหลักธรรมของฝ่ายเถรวาท ซึ่งเรียกว่า สัตถุศาสน์ แต่ก็ไม่ได้
จำกัดวงอยู่เฉพาะในขอบเขตของพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทอย่างเดียว เพราะพบว่า บางครั้ง
ผู้รจนาก็นำเอาหลักธรรมในนิกายสรวาสติวาท ซึ่งเป็นพุทธศาสนามหายานนิกายหนึ่ง มา
อธิบายอย่างยืดยาว (4) เบอร์นอฟ (Burnpuf) ได้ค้นพบว่า พระนาคเสนได้บรรยายถึงหลัก
ธรรมในอภิธรรมโกศวยาขยา (บางแห่งเรียกว่า อภิธรรมโกศภาษยา ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญ
อธิบายพุทธปรัชญาตามหลักธรรมของนิกายสรวาสติวาท ในฝ่ายมหายาน แต่งโดยพระวสุพันธุ์
ชาวอินเดีย) อย่างกว้างขวาง(5) ทั้งยังปรากฏว่าบางแห่งได้พูดถึงหลักธรรมของธิเบตด้วย เช่น

(1) Milindapanha and Nagasenabhikshusutra, p. 35.
(2) Sacred Book of the East Vol. xxxvi,p.xxxvi.
(3) lbid., Vol. xxxvi, p. xiii.
(4) Milinda's Questions Vol. 1, p. xvii.
(5) Sacred Book of the East Vol. xxxvi, p. xxxvi.

เรื่องสีที่บุคคลจะเห็นเมื่อเวลาจะตายเป็นต้น ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท(1) บางครั้งก็
นำเอาตัวอย่าง หรือข้ออุปมาจากวรรคดีนพกพระคัมภีร์มาประกอบการอธิบายบ้าง ฉะนั้น จึง
เห็นได้ว่า ผู้รจนามิลินทปัญหานั้นเป็นผู้คงแก่เรียนอย่างแท้จริง เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องพระพุทธ
ศาสนาและวรรณคดีอื่น ๆ ที่ร่วมสมัยกัน
ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ยกย่องว่ามิลินทปัญหา เป็นปกรณ์ที่แต่งดีเป็นอย่างยอด
คัมภีร์หนึ่ง ในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายที่รจนาขึ้นภายหลังพระไตรปิฎก และว่าหนังสือที่แต่งได้ดี
ใกล้เคียงมิลินทปัญหา ก็มีแต่วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ คัมภีร์เดียว แต่มิลินท์ปัญหา
มีมาก่อนกว่าวิสุทธิมรรคช้านาน และพระพุทธโฆษาจารย์ยังได้อ้างเอามิลินทปัญหามาเป็นหลัก
ในการวินิจฉัย ในหนังสืออรรถกถาที่ท่านรจนาเป็นหลายแห่ง จึงเห็นได้ว่า มิลินทปัญหานี้ เป็น
คัมภีร์ที่นักปราชญ์ถือกันว่าเป็นหลักฐานในข้อวินิจฉัย พระธรรมวินัย มาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว(2)
ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ลองกำหนดข้อความในพระไตรปิฎกซึ่งยกมาอ้างไว้ใน
มิลินทปัญหานี้ ก็ปรากฎว่าผู้รจนาคัมภีร์นี้ เป็นผู้ชำนิชำนาญแตกฉานในพระไตรปิฎก สามารถ
อ้างได้ทุกคัมภีร์ สำนวนโวหารก็ไพเราะ แต่ข้อวิเศษอันสำคัญนั้นก็คือ ผู้รจนาเป็นผู้ที่ฉลาด
ปราดเปรื่องทั้งในกระบวนการวินิจฉัย และวิสัชนาพระธรรมวินัยให้เข้าใจด้วยอุปมาเป็นต้น
ผิดกับคัมภีร์อื่น ๆ โดยมาก จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนานับถือ
คัมภีร์มิลินทปัญหานี้ สืบต่อกันมามากกว่า 2000 ปี เข้าบัดนี้ (3)
ท่าอานันท์ เกาศัลยายนะเถระ (Anand Kausalyayana) ก็กล่าวว่า บรรดาวรรคดี
บาลีทั้งหลาย นอกจากพระไตรปิฎกแล้ว ไม่มีคำกล่าวใดจะสุขุมลุ่มลึกเท่าคำของพระนาคเสน
ในเรื่อง อนาตมวาท (Anatmavad) หรืออนัตตา ดังนั้น มิลินทปัญหา จึงเป็นคัมภีร์ที่แสดง
หลักเกณฑ์ได้ทั้งด้านอภิกปรัชญาของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านจริยศาสตร์และจิตวิทยา นัก
ศึกษาพระพุทธศาสนาควรจะได้ศึกษา เพราะนอกจากจะเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่สำคัญแล้ว
ยังมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีอีกเป็นอันมาก มิลินทปัญหามีหลักฐานดีแน่ชัด
ชนิดที่วรรณคดีอินเดีย ไม่ว่าจะมองแง่ปรัชญา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ หรือความรู้ทาง
ภูมิศาสตร์ เป็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ว่า วรรณคดีหลังพระไตรปิฎกไม่มีคัมภีร์พระพุทธ

(1) ดูมิลินปัญหาฉบับนี้ หน้า 156
(2)-(3) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในมิลินทปัญหาฉบับหอสมุดแห่งชาติ

ศาสนาคัมภีร์ใดจะมีคุณค่าเท่า มิลินปัญหา(1) พม่าได้จัดมิลินทปัญหา เข้าในสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกายด้วย
มิลินทปัญหาได้ถูกถ่ายทอดอักษร และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั้งภาษาทางตะวันออก
และตะวันตกหลายภาษา และในบางภาษาแปลกันหลายสำเนา สำหรับการถ่ายทอดออกเป็น
อักษรต่าง ๆ ในพากย์บาลีนั้นคือ ฉบับอักษรสิงหล ฉบับอักษรขอม ฉบับอักษรพม่า ฉบับ
อักษรไทยและฉบับอักษรโรมัน โดย วี. เทรงค์เนอร์ชาวเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2423 สำหรับ
การแปลเป็นภาษาต่าง ๆ นั้น เท่าที่ปรากฏในขณะนี้ คือ
(2) พุทธศักราช (ราว) 860-963 - แปลเป็นภาษาจีน มีทั้งหมดรวม 11 สำนวน
" 2290 เถระ และมีแปลต่อมาอีกหลายครั้ง
" 2433 - แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ริส
เดวิดส์
" 2448 - แปลเป็นภาษาเยอรมันโดย เอ็ฟ. ออตโต ชราเดอร์
(แปลบางส่วน)
" 2462 - แปลเป็นภาษาเยอรมันจบบริบูรณ์ โดย พระ
ญาณติโลกพระภิกษุชาวเยอรมัน
" 2466 - แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย หลุยส์ ฟีโนต์
" 2467 - แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส จากฉบับภาษาจีน โดย
ปอล เดอมีวิลล์
" 2504 - แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย นาง ไอ. บี. ฮอนเนอร์
ไม่ทราบ พ.ศ. ที่แปล - แปลเป็นภาษารัสเซีย จากฉบับภาษาจีน โดย
นายอีวานอฟสกี (Ivanovsky)
" " - แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น จากฉบับภาษาจีน โดย
โซเงน ยามากามิ

(1) พุทธศาสนประวัติระหว่าง 2500 ปีที่ล่วงแล้ว เล่ม 2, สภาการศึกษา ฯ จัดพิมพ์ 2504, หน้า 38.
(2) Introduction of Milindapanha ank Nagasenabhikshusutra.

ไม่ทราบ พ.ศ. ที่แปล แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น จากฉบับภาษาบาลี โดย
เซอิ สยา กานาโมลิ
สำหรับการแปลเป็นภาษาไทยนั้น บางทีอาจจะได้แปลมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ด้วย
อ้างถึงหนังสือมิลินทปัญหาในบานแพนกหนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระมหาธรรมราชาพญาลิไท
ทรงแต่งขึ้นเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานี แต่ที่แน่นอนและมีต้นฉบับอยู่ในบัดนี้ 4 สำนวน
คือ :-
1. ฉบับแปลแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หอพระสมุด ฯ ได้ต้นฉบับไว้ แต่ไม่
บริบูรณ์
2. ฉบับแปลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งกรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ เป็นฉบับ
ของหอสมุดแห่งชาติ สำนวนนี้สันนิษฐานว่า คงจะแปลในรัชกาลที่ 3 ด้วยปรากฏมาว่า ตั้งแต่
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรด ฯ ให้แปลคัมภีร์ที่แต่งไว้เป็น
ภาษามคธ ออกเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องใหญ่มีฉบับปรากฏอยู่ คือ เรื่องมหาวงศ์
พงศาวดารลังกา ว่าด้วยพุทธศาสนประวัติในลังกาทวีป 1 ชินกาลมาลี ว่าด้วยพุทธศาสน-
ประวัติตั้งแต่พุทธกาลถึงนครเชียงใหม่ในสยามประเทศนี้ 1 ไตรโลกวินิจฉัย 1 เป็นอาทิ
หนังสือที่แปลในรัชกาลที่ 1 มักมีบานแพนกและบอกชื่อผู้แปลไว้เป็นสำคัญ แต่มิลินทปัญหานี้
หามีไม่ จึงสันนิษฐานว่าจะแปลในรัชกาลที่ 3 ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
สดับพระธรรมเทศนาทุกวันเป็นนิตย์ ตามพระราชประเพณี โปรด ฯ ให้อาราธนาพระผู้ถวาย
เทศน์แปลพระไตรปิฎก ทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม และปกรณ์ต่าง ๆ ถวาย เมื่อ
เทศน์แล้ว โปรด ฯ ให้เขียนเก็บรักษาไว้ในหอหลวง มิลินทปัญหาฉบับนี้ ก็เห็นจะแปลถวาย
เทศน์ในครั้งนั้น (1)
3. ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยสมเด็จพระมหา-
สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 และ
ออกหนังสือธรรมจักษุเป็นรายเดือนสมนาคุณแก่ผู้บริจาคบำรุงมหากุฏราชวิทยาลัย ได้ทรง
แปลมิลินทปัญหาลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุดังกล่าว เป็นตอน ๆ แต่มิได้ทรงแปลด้วยพระองค์
เองตลอด ทรงให้พระกรรมการมหากุฏราชวิทยาลัยบ้าง พระภิกษุสามเณรนักเรียนในมหา
มกุฏราชวิทยาลัยบ้าง ช่วยกันแปลเป็นตอน ๆ แล้วทะยอยลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุจนจบ

(1) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

สำนวนแปลในฉบับนี้เป็นแบบ "สำนวนสนาม" คือเหมือนอย่างที่แปลกันในการสอบพระ
ปริยัติธรรมสนามหลวง เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเลือกมิลินทปัญหา
สำหรับจัดพิมพ์เป็นฉบับของหอสมุดแห่งชาติ ทรงเห็นว่า ฉบับแปลในมหากุฏราชวิทยาลัยนี้
สำนวนไม่สม่ำเสมอ เพราะแปลกันหลายคน จึงไม่ทรงเลือกเอาฉบับนี้ ทรงเลือกเอาฉบับแปล
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ดังกล่าวแล้วข้างต้น
4. ฉบับเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า "ปัญหาพระยามิลินท์" โดยนายยิ้ม ปัณฑยากูร
เปรียญ เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2483 เป็นการเรียบเรียงเอาเฉพาะใจความของ
แต่ละปัญหา โดยตัดข้อความและสำนวนที่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ออกเสีย เพื่อสะดวกในการอ่านและ
เข้าใจง่ายขึ้น และฉบับนี้ กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ เป็นฉบับของหอสมุดแห่งชาติ
อีกฉบับหนึ่ง